พระธาตุดอยตุง
ตั้งอยู่บริเวณ กม.ที่175 ของทางหลวงหมายเลข1149
เป็นที่บรรจุพระรากขวัญ(กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า
นำมาจากมัธยมประเทศนับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทยเมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้ทำธงตะขาบ(ภาษาพื้นเมืองเรียกว่าตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย
ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็จะกำหนดเป็นฐานพระสถูป เหตุนี้ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทยจึงปรากฏนามว่า ดอยตุง
พระธาตุดอยตุงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงในวันเพ็ญเดือน 3 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านจากประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน ประเทศสหภาพพม่า ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์ เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี
พระธาตุดอยตุงถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีกุนที่นิยมมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล
วัดร่องขุ่น
ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่น รังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตาผสานวัฒนะธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัดคือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
ในวันที 13 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2521 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติ
สภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตก
แม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ
ปาย
ปาย...อำเภอเล็ก ๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยือนอย่างไม่ขาดสาย
ความเงียบสงบ ลำน้ำปายสายน้อยที่ไหลเอื่อยผ่านกระต๊อบเล็ก ๆ อันเป็นที่พำนักของนักท่องเที่ยว ภูเขาที่ใหญ่น้อยที่โอบล้อม เป็นสเน่ห์ที่ประทับใจนักท่องเที่ยวอย่างไม่รู้เลือน
ในฤดูฝน ริมลำน้ำปายจะดารดาษไปด้วยทุ่งนาข้าวเขียวขจี และเมื่อย่างเข้าฤดูหนาว ทุ่งนาข้าวก็จะแปรเปลี่ยนเป็นไร่กระเทียมที่ทอดตัวยาวไปจรดเชิงเขา ท่ามกลางสายหมอกเย็นระรื่น
รุ่งเช้า ไอหมอกจากแม่น้ำปาย ค่อย ๆ สะสมปกคลุมไปทั้งตัวเมือง ให้ทุกสิ่งของเมืองปายดูเลือนราง แต่กลับเต็มไปด้วยสเน่ห์
ความเงียบสงบ ลำน้ำปายสายน้อยที่ไหลเอื่อยผ่านกระต๊อบเล็ก ๆ อันเป็นที่พำนักของนักท่องเที่ยว ภูเขาที่ใหญ่น้อยที่โอบล้อม เป็นสเน่ห์ที่ประทับใจนักท่องเที่ยวอย่างไม่รู้เลือน
ในฤดูฝน ริมลำน้ำปายจะดารดาษไปด้วยทุ่งนาข้าวเขียวขจี และเมื่อย่างเข้าฤดูหนาว ทุ่งนาข้าวก็จะแปรเปลี่ยนเป็นไร่กระเทียมที่ทอดตัวยาวไปจรดเชิงเขา ท่ามกลางสายหมอกเย็นระรื่น
รุ่งเช้า ไอหมอกจากแม่น้ำปาย ค่อย ๆ สะสมปกคลุมไปทั้งตัวเมือง ให้ทุกสิ่งของเมืองปายดูเลือนราง แต่กลับเต็มไปด้วยสเน่ห์
ดอยตุง
พระตำหนักดอยตุง เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2530 เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี มีพระชนมายุ 88 พรรษา โดยก่อนหน้านั้นมีพระราชกระแสว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ จึงได้เลือกดอยตุง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม ขณะเดียวกัน สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เมื่อทรงทอดพระเนตรพื้นที่ เมื่อต้นปี พ.ศ.2530 ก็ทรงพอพระราชหฤทัย และมีพระราชดำริจะสร้าง "บ้านที่ดอยตุง" พร้อมกันนี้ ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่าจะ " ปลูกป่าบนดอยสูง" จึงกำเนิดเป็นโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น